Skill Standards

Skill Standards

โดย เพจโรงพิมพ์ไทย 5G

หากถามสมบัติช่างพิมพ์มือ 1 แท่น 6 C ว่าลงรถไฟที่หัวลำโพงแล้วอามารับเป็นเด็กฝึกงานโรงพิมพ์กี่ปีถึงเข้าแท่นพิมพ์เป็นมือ 3 ทำอยู่อีกกี่ปีถึงขยับเป็นมือ 2 อดทนนานเท่าไหร่ถึงก้าวเป็นมือ 1 ตอนนี้เป็นมาแล้วกี่ปี ?

สมการประสบการณ์ของช่างสมบัติคือ 1/2 ปี + 2 ปี + 4 ปี + 9 ปี = 15 ปีครึ่ง

ถอด Square Root ของเขาคือฝึกงานจริง 1 เดือน x ทำซ้ำ 6 ครั้ง จนหัวหน้าเห็นแวว ดึงมาเรียนความรู้เนื้อ ๆ เป็นมือ 3 เพียง 3 เดือน x ทำซ้ำ 8 ครั้ง เรียนความรู้เนื้อ ๆ เป็นมือ 2 = 1 ปี x ทำซ้ำ 4 ครั้ง และท้ายสุดสุดท้าย เรียนความรู้เนื้อ ๆ ของมือ 1 เต็มที่ 3 ปี x ทำซ้ำ 3 ครั้ง ประโยชน์การทำซ้ำคือได้ความชำนาญ ทำสิ่งนั้นได้ไวขึ้น ผิดพลาดน้อย แต่ใช้เวลา

ขณะที่ปลายปี 2564 ผู้บริหารโรงพิมพ์วางแผนซื้อเครื่องเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเพิ่มอีก 2 แถวรองรับงาน เราจะได้ยินคำว่า “ดัน” ช่างสมบัติขึ้นไปทำแท่นใหม่ ดันมือ 2 ลูกน้องช่างสมบัติขึ้นเป็น มือ 1 โยกมือ 3 แท่น 4 C มาเป็นมือ 2 แท่น 6C โดยยังไม่มั่นใจนักว่าความรู้พื้นฐานและทักษะที่มีจะปฎิบัติหน้าที่ใหม่ได้มีประสิทธิภาพเพียงใด

บทความนี้ต้องการให้ผู้บริหาร ผู้จัดการแผนกพิมพ์ ฝ่ายบุคคลรู้จัก Skill Standard เพื่อการฝึกอบรมช่างพิมพ์ได้เป็นระบบ โดยวิธีแบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ คือ ขั้นตอนการทำงาน หัวข้อฝึกอบรม และเป้าหมาย แนวทางนี้สามารถย่นย่อเวลาให้พนักงานใหม่คนหนึ่ง ที่มี “แวว” เป็นช่างพิมพ์มือ 1 (อ่อนประสบการณ์) เร็วกว่า 4 ปี 4 เดือน ตาม Square Root ของช่างสมบัติ

ขั้นตอนการทำงาน หัวข้อฝึกอบรม และเป้าหมาย ดังนี้

1. เช็คอุปกรณ์ความปลอดภัยก่อนเริ่มงาน

หัวข้อฝึกอบรม
1.1 จุดติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น ฝาการ์ด ลิมิตสวิตซ์ ปุ่มเซฟตี้ ตาไฟ ตามคู่มือเครื่อง
1.2 หลักการทำงาน
1.3 วิธีตรวจสอบประสิทธิภาพ ความแม่นยำของอุปกรณ์
1.4 การบำรุงรักษา
เป้าหมาย
1.1 ชี้จุดติดตั้งครบทุกจุด
1.2 ตรวจสอบประสิทธิภาพเป็น
1.3 สังเกตความผิดปรกติของอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น ทำผิดจังหวะ, หลวม, ชำรุด
1.4 แนะนำปรับปรุงเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานแก่หัวหน้า เช่น จุดอับแสง มีการรั่วซึม
1.5 ปฎิบัติตามกฎความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ จ.ป
1.6 บอกกล่าวตักเตือนเพื่อนร่วมงานเรื่องสุ่มเสี่ยงอันตราย

2. เตรียมการพิมพ์

หัวข้อฝึกอบรม
2.1 ใบจ๊อบ, ใบงาน, Job Instructions
2.2 แผนการพิมพ์
2.3 ศัพท์การพิมพ์ เช่น กลับนอก กลับในตัว กลับกระดกกริปเปอร์ ยก กรอบ
2.4 ศัพท์หลังการพิมพ์ เช่น ไดคัท ฟอยล์ เย็บกี่ เย็บมุงหลังคา เคลือบด้าน
เป้าหมาย
2.1 เตรียมปรู๊ฟ เพลท กระดาษ ถูกต้องตรงตามแผนการพิมพ์
2.2 เข้าใจสเปคงาน

3. ตรวจสอบกระดาษ

หัวข้อฝึกอบรม
3.1 หน่วยมิลลิเมตรและหน่วยนิ้ว
3.2 ขนาดกระดาษจากโรงงานยี่ห้อต่างๆ
3.3 ขนาดกระดาษที่ตัดใช้ประจำ
3.4 ลักษณะผิวมัน ผิวด้าน ไม่เคลือบ
3.5 แกรมและเกรนกระดาษ
3.6 กระดาษ 2 หน้าเรียบต่างกันจากโรงงาน
3.7 ปัญหาคุณภาพกระดาษก่อนพิมพ์ เช่น คลื่น เจียนไม่ได้ฉาก ขุยขอบ
3.8 วิธีใช้ไมโครมิเตอร์
3.9 วิธีขึ้นกระดาษ
เป้าหมาย
1. แยกประเภทกระดาษ
2. ใช้มือสัมผัสแยกความหนาเบื้องต้น
3. แยกความต่างของความเรียบกระดาษสองหน้า
4. ตรวจเกรนกระดาษ
5. ใช้ไมโครมิเตอร์วัดความหนาได้
6. แจ้งปัญหาสภาพกระดาษไม่พร้อมพิมพ์
7. ขึ้นกระดาษเรียบ ขอบตรง

4. ตรวจสอบเพลท

หัวข้อฝึกอบรม
สเปคเครื่องพิมพ์
4.1 ขนาดกว้าง x ยาว
4.2 ระยะเริ่มพิมพ์ Start printing
4.3 ขนาดรูเจาะ ระยะห่างระหว่างรู
4.4 การใช้เครื่องงอเพลท
4.5 มาร์คต่าง ๆ บนเพลท
4.6 ปัญหาคุณภาพ เช่น สกรีนหาย รอยขีดข่วน เอียง
4.7 วิธีการใส่เพลทตามคู่มือเครื่อง
4.8 การเก็บรักษาเพลทหลังพิมพ์
เป้าหมาย
4.1 ตรวจคุณภาพก่อนใส่โมเพลท
4.2 ใส่เพลทถูกวิธี
4.3 มาร์คพิมพ์ใก้ลเคียงที่สุดเมื่อปรู๊ฟงาน
4.4 รักษาเพลทพร้อมใช้ครั้งต่อไป

5. ตรวจสอบน้ำยาฟาวเทน

หัวข้อฝึกอบรม
5.1 ระบบการทำงานของคู้น้ำยา
5.2 อุปกรณ์ประกอบในตู้น้ำยา เช่น ลูกลอย หัวอ่าน ชุดผสม ตู้พักน้ำ
5.3 สเปคค่า PH – Conductivity
5.4 แอลกอฮอล์ IPA ในการพิมพ์
5.5 วิธีคำนวณอัตราส่วนผสมด้วยแมนนวล
5.6 การใช้เครื่องมือวัด
5.7 การเปลี่ยนถ่ายน้ำตามคู่มือเครื่อง
5.8 ความสะอาดและการบำรุงรักษาตู้น้ำยา
เป้าหมาย
5.1 ใช้เครื่องมือวัดวิเคราะห์ค่าเหมาะสมการใช้งาน
5.2 คำนวณอัตราส่วนผสมได้ถูกต้องในการเติมแมนนวล
5.3 วิเคราะห์จุดทำงานผิดปรกติ
5.4 เปลี่ยนถ่ายน้ำ
5.5 รักษาความสะอาดและบำรุงรักษา

6. เตรียมหมึกพิมพ์

หัวข้อฝึกอบรม
6.1 หมึก 4C Process
6.2 หมึกสีพิเศษ สี Metallic หมึกวานิช
6.3 คุณสมบัติหมึกพิมพ์ เช่น ความเหนียว การไหล การเซ็ทตัว การแห้ง
6.4 การรวมตัวของหมึกและน้ำ
6.5 การผสมสีพิเศษ Color Matching
6.6 สารเติมแต่งหมึก เช่น ดรายเออร์ คอมปาวน์ วานิชOO
6.7 การรวมตัวของหมึกและน้ำ
6.8 ปัญหาคุณภาพที่เกิดจากหมึกพิมพ์
เป้าหมาย
6.1 เตรียมหมึกถูกต้องตามสเปคในใบงาน
6.2 ผสมหมึกสีพิเศษได้
6.3 วิเคราะห์แก้ไขปัญหาหมึกที่เกิดขึ้นระหว่างพิมพ์
6.4 คำนวนปริมาณหมึกที่จะใช้ตามจ๊อบงาน

7. เตรียมการพิมพ์

หัวข้อฝึกอบรม
7.1 องค์ประกอบผ้ายาง หน้ายาง ความหนา ฟองอากาศ เกรน แคลมป์หนีบ
7.2 ประเภทของแพ๊คกิ้ง
7.3 วิธีเปลี่ยนผ้ายางและแพ๊คกิ้ง
7.4 แรงขัน หน่วยแรงขัน การตั้งประแจ
7.5 การใช้ไมโครมิเตอร์
7.6 ความลึกบ่าโมผ้ายางและแรงกด
7.7 การเพิ่มลดขนาดภาพด้วยแพ๊คกิ้ง
7.8 ปัญหาคุณภาพที่เกิดจากผ้ายาง
7.9 คุณสมบัติน้ำมันล้างผ้ายาง
เป้าหมาย
7.1 ถอดเปลี่ยนผ้ายางและแพ๊คกิ้ง
7.2 ใช้ไมโครมิเตอร์ใส่แพ๊คกิ้งตามสเปคบ่าโม
7.3 เพิ่มลดขนาดภาพด้วยแพ๊คกิ้ง
7.4 ตั้งแรงขันประแจถูกสเปคเครื่อง
7.5 แก้ปัญหาที่เกิดจากผ้ายาง
7.6 ป้องกันผ้ายางเสียหาย

8. Set Up

หัวข้อฝึกอบรม
8.1 วิธีนำเข้าข้อมูลของพรีเพรส
8.2 การปรับตั้งตามคู่มือเครื่อง
8.3 การสั่งการพิมพ์ที่โต๊ะควบคุม
8.4 อุปกรณ์พ่นแป้งและแป้งพ่น
เป้าหมาย
8.1 เซทและ Upload ข้อมูล ค่าต่าง ๆ ที่โต๊ะควบคุม
8.2 เซทหน่วยป้อนกระดาษด้วยสปีดเท่าพิมพ์จริง
8.3 เซทหน่วยรับกระดาษด้วยสปีดเท่าพิมพ์จริง
8.4 ปรับสมดุลย์ให้น้ำน้อยและหมึกน้อยแต่ได้ค่า Density สูงสุด ค่า Delta E อยู่ในเกณฑ์
8.5 ตั้งฉากตั้งสีโดยเปิดกระดาษน้อยครั้งแล้ว สีได้ตามสเปค
8.6 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ เช่น เม็ดสกรีนบวม รอยเลอะ รอยยับ
8.7 ตรวจความถูกต้อง เช่น ตีเส้นเช็คตัดตก การเรียงหน้า ระยะกริปเปอร์

9. ปรับตั้งลูกหมึกและลูกน้ำ

หัวข้อฝึกอบรม
9.1 สเปค เส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาวแกน และยาง ความนิ่มแข็ง ตามคู่มือเครื่อง
9.2 วิธีถอด ใส่คืน และเครื่องมือที่ใช้
9.3 วิธีปรับตั้งแรงเบียด และเครื่องมือที่ใช้
9.4 การไหลและถ่ายโอนหมึกจากลูกเหล็ก รางหมึกถึงลูกหมึกแตะเพลท (Ink Chain)
9.5 การไหลของน้ำยาฟาวเทนจากลูกในรางถึงลูกน้ำแตะเพลท
9.6 การตั้งลูกส่ายหมึกแก้หัวหนักท้ายเบา
9.7 เครื่องมือวัด Durometer เวอร์เนีย
9.8 การตรวจสภาพลูกหมึกลูกน้ำ
9.9 การบำรุงรักษา
เป้าหมาย
9.1 ตรวจสอบสเปคลูกหมึกและลูกน้ำ
9.2 ถอด ใส่ ปรับตั้งลูกหมึกและลูกน้ำทั้งระบบ

10. ควบคุมคุณภาพ

หัวข้อฝึกอบรม
10.1 มาตรฐานการพิมพ์ ISO 12647
10.2 ค่า Density L*a*b* DeltaE Dot gain
10.3 การจัดการสีเบื้องต้น
10.4 Color Profile ของดิจิตอลปรู๊ฟและพิมพ์
10.5 Screen A.M X.M F.M
10.6 เครื่องมือและวิธีวัด Densitometer, Spectrophotometer
10.7 กระดาษ วัสดุพิมพ์ที่มีผลกับสี ความตรง และการรับหมึก
10.8 ปัญหาคุณภาพที่เกิดจากน้ำยา หมึก กระดาษ เพลท ผ้ายาง ลูกหมึก ลูกน้า
10.9 ระดับคุณภาพของลูกค้าแต่ละราย
เป้าหมาย
10.1 ใช้เมนูต่าง ๆ ของเครื่องวัดถูกต้อง
10.2 ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหาระหว่างพิมพ์ เช่น ขี้หมึก มาร์คหนี ไม่เข้าฉาก จุดสกปรก ให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
10.3 ประเมินค่าDensity Delta E Dot Gain เพื่อปรับแต่งกลับให้ได้คุณภาพคงเส้นคงวา
10.4 วิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด

11. บำรุงรักษาเครื่องจักรและทำความสะอาด

หัวข้อฝึกอบรม
11.1 ข้อปฏิบัติตามคู่มือเครื่อง ประจำวัน ประจำสัปดาห์ เดือน สามเดือน ปี
11.2 สเปคและประเภทสารหล่อลื่น
11.3 วิธีการหยอดน้ำมัน อัดจารบี
11.4 สเปคลูกปืน
11.5 วิธีถอด เปลี่ยน อุปกรณ์ชิ้นส่วนพื้นฐานที่ช่างพิมพ์ควรรู้ เช่น ฟิลเตอร์ ลูกล้อ
11.6 ระบบลม ปั๊มลม
11.7 การล้างลูกหมึกลูกน้ำ
11.8 การทำความสะอาดกริปเปอร์
เป้าหมาย
11.1 หยอดน้ำมันอัดจารบีได้ถูกวิธี ตรงรอบเวลา
11.2 ถอด เปลี่ยน ชิ้นส่วนอะไหล่พื้นฐานเป็น
11.3 รู้ระบบลมทำงานผิดปรกติ
11.4 แก้ปัญหาเม็ดสกรีนซ้อนจากการล้างกริปเปอร์
11.5 แกนลูกหมึกสะอาดไม่มีคราบหมึกสะสมจากการล้างไม่ถูกวิธี

12. การทำความสะอาดและแยกขยะ

หัวข้อฝึกอบรม
12.1 วัตถุมีพิษ
12.2 วัตถุไวไฟ
12.3 การดับเพลิง
12.4 กิจกรรม 5 ส
เป้าหมาย
12.1 แยกประเภทการทิ้ง การทาลายตามเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยกาหนด ไม่ให้รั่วไหลออก
12.2 บริเวณทางานและโดยรอบตรงตาม 5 ส
12.3 ผ่านการอบรมดับเพลิง

13. การเก็บรักษาเครื่องมือประจำแท่น

หัวข้อฝึกอบรม
13.1 ชนิดเครื่องมือและขนาดเบอร์
13.2 วิธีใช้งานที่ถูกต้อง
13.3 วิธีเก็บรักษา
เป้าหมาย
13.1 ใช้เครื่องมือถูกวิธี
13.2 เก็บรักษาได้เป็นระเบียบ หาง่าย
13.3 ไม่สูญหาย

หวังว่าแนวทางนี้ช่วยองค์กรวางแผนการฝึกอบรมของปี 2564 ไม่มากก็น้อย ฉบับหน้าจะเป็น Skill Standard ของ Prepress ครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า