การลดต้นทุนเชิงวิศวกรรม สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และแพคเกจจิ้ง ตอนที่ 3

การลดต้นทุนเชิงวิศวกรรม
สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และแพคเกจจิ้ง ตอนที่ 3
(Engineering cost reduction For the printing and packaging industry, part 3)

วิรัช เดชาสิริสิงห์
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบโรงงานอัตโนมัติและการลดต้นทุนในโรงงานและขบวนการผลิต
wirach.ton@gmail.com

ในเนื้อหาฉบับที่แล้วได้กล่าวถึง การลดต้นทุนเกี่ยวกับอะไหล่ที่ใช้ในเครื่องจักร เครื่องพิมพ์ และอะไหล่ที่หยิบยกมาคือ ลูกกลิ้งหุ้มยาง ซึ่งในเนื้อหาได้อธิบายถึงรายละเอียดและข้อมูลต่าง ๆ ของลูกกลิ้งหุ้มยางไว้ตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  • ลูกกลิ้งหุ้มยางชนิดต่าง ๆ
  • ประโยชน์ของลูกกลิ้งหุ้มยาง
  • การกำหนดสูตรยางที่ใช้หุ้มลูกกลิ้ง
  • วัสดุที่ใช้หุ้มลูกกลิ้งหุ้มยาง
  • การลดต้นทุนเกี่ยวกับลูกกลิ้งหุ้มยาง

และในฉบับนี้จะได้อธิบายต่อเนื่อง ในหัวข้อเครื่องมือที่ใช้วัดความแข็งยาง และการลดต้นทุนเกี่ยวกับลูกกลิ้งหุ้มยาง ดังนี้

เครื่องมือวัดความแข็งยาง (Rubber Hardness Tester)

ซึ่งเครื่องมือวัดความแข็งของเนื้อยางหุ้มลูกกลิ้ง มีทั้งหมด 6 แบบสเกล ในการวัดคือ Shore 00, Shore 0, Shore A, Shore B, Shore C และ Shore D

1. Rubber Hardness Tester Type Shore 00,0

2. Rubber Hardness Tester Type Shore A,B

3. Rubber Hardness Tester Type Shore C,D

สเกลเปรียบเทียบความแข็งยางของหน่วยวัด Shore แบบต่างๆ(1)

สเกลเปรียบเทียบความแข็งยางของหน่วยวัด Shore แบบต่างๆ (2)

สำหรับผู้ประกอบการโรงพิมพ์และแพ็คเกจจิ้ง แนะนำให้ซื้อเครื่องมือวัดความแข็งยาง Type Shore A,D ก็พอเพียงแล้ว

วัดความแข็งยางอย่างไร

วิธีการวัดคือนำเครื่องมือวัดความแข็งของยางไปวางทาบบนเนื้อยาง โดยให้หน้าสัมผัสของเครื่องมือวัด แนบกับเนื้อยางให้ได้มากที่สุด และทำมุมตั้งฉากกับเนื้อยาง โดยผู้วัดต้องออกแรงกดเครื่องมือวัดให้แนบกับเนื้อยางด้วย โดยออกแรงพอประมาณ (ตามรูปที่แสดง) จากนั้นขยับเครื่องมือวัดให้เอียงไปมาเล็กน้อยเพื่อหาจุดที่ตั้งฉากที่สุด จากนั้นให้ดูสเกลบนหน้าปัด โดยให้อ่านค่าที่เข็มชี้ไปที่ตัวเลขมากสุด แล้วจดบันทึก ถ้าเราจะวัดความแข็งของเนื้อยางบนลูกกลิ้งยาง เราควรจะวัด 3 ตำแหน่ง คือ ซ้าย,ขวา และตรงกลาง สำหรับตำแหน่งที่จะวัดซ้าย ขวา ถ้าเป็นลูกกลิ้งที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เราจะต้องวัดในบริเวณตำแหน่งที่เนื้อยางของลูกกลิ้งได้ทำงานเท่านั้น เพราะว่าเนื้อยางที่ไม่ได้ทำงาน ความแข็งที่ได้จะไม่ถูกต้อง
สำหรับการวัดความแข็งเนื้อยางหุ้มลูกกลิ้งมีประโยชน์อย่างไร และทำเพื่ออะไร และเมื่อทำแล้วจะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างไร

ประโยชน์ของการวัดความแข็งยางหุ้มลูกกลิ้ง

ตามปกติสเปคความแข็งของยางหุ้มลูกกลิ้งถ้าเป็นเครื่องจักรใหม่ คู่มือจะบอกความแข็งของเนื้อยางมาให้ ซึ่งแต่ละลูกแต่ละตำแหน่งอาจจะมีความแข็งของเนื้อยางไม่เท่ากัน ซึ่งผู้ใช้เครื่องต้องกำหนดเวลาวัดความแข็งเอาเอง โดยดูจากชั่วโมงการทำงานของเครื่องพิมพ์ ถ้าเครื่องพิมพ์นั้นๆเป็นเครื่องจักรเก่า อาจไม่มีชุดวัดชั่วโมงการทำงาน เราก็ซื้อมาติดตั้งเองก็ได้

และประโยชน์อีกอย่างของมิเตอร์วัดชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรก็คือ เอาไว้เทียบกับตารางการบำรุงรักษาเครื่องจักร ถ้าตรงกับช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ก็ทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ทันที

ในที่นี้เรามาดูกันว่า ความแข็งของเนื้องยางหุ้มลูกกลิ้ง ถ้าเรามีการควบคุม ก็คือการวัดความแข็งอย่างถูกต้องแล้ว จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร

1. ความแข็งของเนื้อยางหุ้มลูกกลิ้ง เมื่อใช้งานลูกกลิ้งไปนานๆเนื้อยางหุ้มลูกกลิ้งจะค่อยๆแข็งขึ้น ถึงค่าๆหนึ่ง เราเรายังจะใช้ต่อไป งานที่พิมพ์ออกมาอาจจะไม่มีคุณภาพพอ ทำให้ส่งงานลูกค้าไม่ได้ ถูกลูกค้าตำหนิ หรือรับงานที่มีคุณภาพสูงไม่ได้ ก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ให้ลูกค้าใหม่ หรือถูกลูกค้าขอลดราคา หรือรับงานที่มีคุณภาพสูง ราคาสูงไม่ได้

การแก้ไขก็คือ ถ้าลูกกลิ้งนั้นๆยังไม่เคยเจียรผิวหน้ายางออก เราก็ถอดลูกกลิ้งออกไปเจียรผิวออก หน้ายางก็จะเรียบขึ้นและผิวหน้ายางจะอ่อนลง

แต่ถ้าลูกกลิ้งเคยผ่านการเจียรผิวหน้ายางมาแล้ว ความโตอาจจะไม่พอที่จะเจียรอีก (เพราะลูกกลิ้งอาจจะเล็กเกินไปที่จะใช้งาน) ก็ต้องถอดลูกกลิ้งออกไปหล่อยางใหม่ หรือหุ้มเนื้อยางใหม่แล้วแต่จะเรียก

2. การลดต้นทุนเกี่ยวกับความแข็งของยางหุ้มลูกกลิ้ง อีกแบบหนึ่งก็คือ ควบคุมความแข็งของเนื้อยางหุ้มลูกกลิ้ง หลังผ่านการหล่อหรือหุ้มเนื้อยางใหม่ให้ตรงค่าที่เรากำหนดไว้ (ค่าที่เรากำหนดไว้ก็คือ ค่าความแข็งของเนื้อยางหุ้มลูกกลิ้งตามคู่มือของเครื่องจักร เครื่องพิมพ์นั้นๆ กำหนดไว้ )

สมมุติว่า ลูกกลิ้งหุ้มยางลูกหนึ่งในเครื่องพิมพ์ ตามคู่มือกำหนดค่าความแข็งของเนื้อยางไว้ ต่ำสุด ที่ 68 Shore A. (ลูกกลิ้งใหม่ หรือลูกกลิ้งหล่อหรือหุ้มยางใหม่ ที่ยังไม่ได้ใช้งาน) และมีค่าความแข็งเนื้อยางที่ผ่านการใช้งานแล้ว สูงสุด 76 Shore A. (ความแข็งเนื้อยางสูงสุดที่ต้องนำไปเจียรหรือหล่อเนื้อยางใหม่)

ถ้าลูกกลิ้งลูกนี้เดินงาน มาเป็นระยะเวลา 5000 ชั่วโมง และต้องถอดลูกกลิ้งออกเพื่อนำไปหล่อยางหรือหุ้มยางลูกกลิ้งใหม่ และลูกกลิ้งที่ถูกส่งกลับมาหลังจากหล่อยางใหม่แล้ว เราต้องวัดค่าความแข็งของเนื้อยางทันที โดยวัดร่วมกับ ซัพพลายเออร์ที่หล่อยางให้เรา ถ้าวัดค่าความแข็งได้ 68 Shore A ถือว่าโรงงานที่หล่อยางให้เราทำการผสมยางได้ดีมาก และถ้าต่ำกว่า เหลือ 67 Shore A.ก็ยังถือว่าดี แต่ส่วนมาก ทางซัพพลายเออร์จะป้องกันความผิดพลาด จะหล่อยางมาให้เรามีความแข็งอยู่ประมาณ 70-71 Shore A.ซึ่งความแข็งนี้ก็ใช้ได้ อยู่ในเกณฑ์ แต่เราจะเสียประโยชน์ เพราะว่าเรายังไม่ได้ใช้งานเลย แต่ได้ลูกกลิ้งหุ้มยางที่มีความแข็งมากไปแล้ว ถ้าเรานำลูกกลิ้งนี้ไปใช้งาน อายุการใช้งานของลูกกลิ้งอาจเหลือ 4000 ชั่วโมงหรือต่ำกว่า ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ ถ้ามีลูกกลิ้งเป็นจำนวนมาก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในตรงส่วนนี้มากตามไปด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในโรงงาน โรงพิมพ์ ต้องมีคู่มือ ข้อมูลของลูกกลิ้งอย่างถูกต้องและครบถ้วน

และในการลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับลูกกลิ้งหุ้มยาง ยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติมอีกดังนี้ :

  • เลือกใช้ Solvent สำหรับงานผลิตและงานล้างทำความสะอาดลูกกลิ้ง ที่มีคุณสมบติที่ดี ราคาเหมาะสม ที่ไม่ทำลายผิวยาง เนื้อยาง หรือพลาสติกเคลือบลูกกลิ้ง เพราะสารละลายบางชนิดมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม ที่จะนำมาล้างลูกกลิ้งหุ้มยาง
  • ระมัดระวังอย่าให้ เศษเหล็ก โลหะ น๊อต สกรู สิ่งของต่างๆตกลงไปในชุดป้อมพิมพ์ในขณะทำงาน หรือในการซ่อมบำรุง ถ้าทราบหรือมองเห็นต้องจัดการนำออกมาทันที เพราะถ้าลืมหรือพลั้งเผลอไป เมื่อเดินเครื่องในขณะที่มีเศษเหล็ก โลหะ น๊อตสกรู หรือสิ่งของต่างๆที่แทรกตัวอยู่ในชุดป้อมพิมพ์ หรือในกลุ่มลูกกลิ้ง จะทำให้ผิวลูกกลิ้งเสียหายทันที และการเสียหายแบบนี้อาจทำให้ลูกกลิ้งเสียหายหลายลูกในเวลาเดียวกัน

  • การจัดเก็บลูกลิ้งอย่างดี จะช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับลูกกลิ้งหุ้มยางหรือลูกกลิ้งทั่วไปได้

  • ชนิดของเนื้อยาง ต้องถูกต้องตามสเปค การเลือกใช้ชนิดของยางที่จะนำมาหุ้มหรือหล่อยางลูกกลิ้ง ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมกับลูกกลิ้งที่อยู่ในตำแหน่งหรือหน้าที่ในการทำงานนั้นๆ เพราะถ้าเราเลือกยางที่มีคุณสมบัติดีเกินไปสำหรับลูกกลิ้งในตำแหน่งงานนั้น ก็จะเกิดความสิ้นเปลือง เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป แต่ถ้าเราเลือกยางที่มีคุณภาพต่ำเกินไป อายุการใช้งานของลูกกลิ้งจะสั้นและคุณภาพงานที่ออกมาอาจไม่ดีพอ

สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับลูกกลิ้งหุ้มยางตั้งแต่ต้น จนถึงตอนสุดท้าย มี 5 หัวข้อได้แก่

  • ลูกกลิ้งหุ้มยางชนิดต่างๆ
  • ประโยชน์ของลูกกลิ้งหุ้มยาง
  • การกำหนดสูตรยางที่ใช้หุ้มลูกกลิ้ง
  • วัสดุที่ใช้หุ้มลูกกลิ้งหุ้มยาง
  • การลดต้นทุนเกี่ยวกับลูกกลิ้งหุ้มยาง

ถ้าเจ้าของกิจการหรือผู้ที่มีส่วนที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับลูกกลิ้งหุ้มยาง นำข้อมูลนี้ไปใช้ในสถานประกอบการ ก็จะได้รับประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย และผลประโยนช์ที่จะได้รับก็จะเกิดกับกิจการของท่านเอง

ข้อมูลอ้างอิง
• ตามประสบการณ์จริงของผู้เขียน

เครดิตภาพประกอบ
• https://www.pinterest.ie/pin/633670610042397710/?nic_v2=1aUwrQjZY
• https://www.bukalapak.com/p/industrial/industrial-lainnya/hhhm1j-jual-teclock-durometer
• https://www.amazon.ca/Durometer-Rubber-Hardness-Tester-Neutral/dp/B00R3TFIC6
• https://www.totallyseals.com/
• https://images-na.ssl-images-amazon.com/images/I/61BaBvMHDsL.jpg
• https://www.checkline.com/product/HPSA-R
• https://sc02.alicdn.com/kf/H8bd285b1071144228a6ddf45f753fb3ac.jpg
• https://media.rs-online.com/t_large/W9155929-01.jpg
• http://www.willita.com/sale-7685646-pet-glass-bottle-solvent-based-ink-used-incoding-printing-solvent-for-inkjet-printer-ink.html
• https://copperwirecreative.com/wp-content/uploads/2018/01/Powerofprint-copperwire.jpg
• https://s.alicdn.com/@sc01/kf/HTB1V.UgXsfrK1RkSnb4q6xHRFXaR.jpg
• https://s.alicdn.com/@sc01/kf/Hb1eb1ff585fd45d6b2e52c90cde22254B/Customized-OEM-POS-machine-High-Precision-SUS.jpg

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า