Print Industry Summit 2019 : Printing 4.0 and Packaging – Countdown to DRUPA 2020

Print Industry Summit 2019: Printing 4.0 and Packaging – Countdown to DRUPA 2020

วันที่ 12 ธันวาคม 2562
ณ โรงแรมพูลแมน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ

VMDA สมาคมด้านอุตสาหกรรมชั้นนำจากประเทศเยอรมันนี, PrintPromotion หน่วยงานที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการพิมพ์ชั้นนำของโลก และ DRUPA งานแสดงเทคโนโลยีด้านการพิมพ์อันดับ 1 ของโลก (ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยบริษัท เมสเซ่ ดุสเซอร์ดอร์ฟ ประเทศเยอรมันนี) ได้ร่วมกันจัดงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมการพิมพ์ Print Industry Summit 2019: Printing 4.0 and Packaging – Countdown to DRUPA 2020 ซึ่งเป็นการเปิดตัวรอบโลกของงานดรูป้า ที่จัดขึ้นใน 27 ประเทศ ทั่วทั้ง 5 ทวีป โดยเริ่มขึ้นที่กรุงเม็กซิโก ซิตี้ในเดือนกันยายน 2562 และตามด้วยภูมิภาคเอเชีย ซึ่งดรูป้าได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยในการจัดงานครั้งนี้ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการพิมพ์ของภูมิภาค

งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมการพิมพ์ Print Industry Summit 2019: Printing 4.0 and Packaging – Countdown to DRUPA 2020 จัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ที่โรงแรมพูลแมน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ โดยได้ผู้เชี่ยวขาญจาก VDMA เยอรมันนี PrintPromotion และ ดรูป้า รวมถึงบริษัทแบรนด์ชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์ เข้าร่วมให้ความรู้และข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรมการพิมพ์และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ระบบอัตโนมัติ โซลูชั่นเวิร์คโฟลว์อัจฉริยะ โซลูชั่นระบบการพิมพ์กราเวียร์สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย งานประชุมดังกล่าวนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้ที่อยู่ในแวดวงการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม

งานประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย เข้ากล่าวเปิดงานและให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย โดยได้กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของบริษัทด้านการพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมกระดาษ กว่า 5,800 บริษัท ซึ่งมีบริษัทเฉพาะด้านการพิมพ์อย่างเดียวกว่า 3,500 บริษัท และมีการจ้างงานกว่า 150,000 คน มูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์ในประเทศปัจจุบันมีมูลค่าสูงกว่า 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษเพียงอย่างเดียวสร้างมูลค่าสูงถึง 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนยังให้ความสนใจประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตที่รายล้อมด้วยประชาคมอาเซียน ที่มีจำนวนผู้บริโภคสูงกว่า 660 ล้านคน

คาดว่าความต้องการของการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ของไทยจะเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออกในผลิตภัณฑ์ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูป ยาและเครื่องสำอาง และอีคอมเมิร์ซ ที่จะยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นไปอีก ในปีหน้าอุตสาหกรรมการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์น่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 10-20 เปอร์เซ็นต์ จากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการผลักดันของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและภาคส่วนอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นภาคธุรกิจการพิมพ์จำเป็นที่จะต้องเพิ่มศักยภาพและความชำนาญในการผลิต สำหรับงานพิมพ์คุณภาพสูง การพิมพ์ภาพสีคุณภาพสูง หรือ high-fidelity printing การพิมพ์แบบไฮบริด ขบวนการผลิตอัตโนมัติ และปรับเปลี่ยนเป็นโรงงานอัจฉริยะ หรือ smart factory ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า ด้วยการพิมพ์ระบบดิจิทัลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและราคาไม่แพง

สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทย มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้าสู่ภูมิทัศน์ใหม่ของการแข่งขัน ปรับปรุงรูปแบบของธุรกิจใหม่ และหาหนทางใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเตรียมตัวของอุตสาหกรรมการพิมพ์ของประเทศให้พร้อมสำหรับอนาคต และชิงความได้เปรียบให้กับบริษัทไทยเพื่อฉกฉวยโอกาสในตลาดโลก งานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก อย่างเช่นงานดรูป้า จะแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะอันน่าทึ่งของเทคโนโลยีและการพิมพ์แห่งอนาคต ตลอดจนแนวโน้มและทิศทางใหม่ๆ ในอนาคต ในขณะเดียวกันก็จะเป็นสถานที่เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้มีโอกาสทดสอบประเด็นต่างๆกับความต้องการในปัจจุบัน และทำความเข้าใจทิศทางและแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในภาคการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันเพิ่มเติม ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและที่เกี่ยวเนื่องกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า