โรงงานอัจฉริยะ AI ตอนที่ 4 (Smart Factory Artificial Intelligence)

โรงงานอัจฉริยะ AI ตอนที่ 4 (Smart Factory Artificial Intelligence)
ความฉลาดที่มนุษย์สร้างให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต

โดย ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าอีกไม่เกิน 5 ปี โรงงาน โรงพิมพ์ ธุรกิจจำนวนมาก ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นระบบ AI (Artificial Intelligence) หรืออีกนัยหนึ่งคือความฉลาดที่มนุษย์สร้างให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เหตุที่ทำไมเราถึงมองข้ามเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ เพราะว่าในที่สุดการผลิตจะหนีไม่พ้นเรื่องการลดต้นทุนนั้นเอง หากเรามองว่าสักวันหนึ่งเครื่องจักรที่โปรแกรมโดยมนุษย์สามารถเก็บข้อมูล วิเคราะห์ แยกแยะ จัดการ ได้ด้วยต้นเองตามแนวทางที่มนุษย์ป้อนให้ และจัดการสิ่งต่างๆโดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อย ไม่บ่น ไม่มีวันหยุด ลงทุนครั้งเดียว (อาจจะมีการดูแลรักษาบ้าง) โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องการลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และมีส่วนแบ่งทางการตลาด แล้วทำไมนักลงทุนจะไม่มองการบริหารจัดการด้วย AI

ในภาคธุรกิจทุกสาขาไม่ว่าทางการแพทย์ สถาบันการเงินการธนาคาร เกษตรกรรม อุตสาหกรรมอาหาร สายการบิน การท่องเที่ยวโรงแรม โรงเรียน การขนส่ง ล้วนแต่คำนึงถึงการนำระบบการบริหารจัดการ AI เข้ามาจัดการแทนแรงงานที่นับวันจะหาได้ยากขึ้นไม่ว่าธุรกิจนั้นจะใช้ความฉลาดของมนุษย์ หรือแม้แต่กำลังแรงงาน ไม่มีธุรกิจใดเลยไม่พิจารณาเรื่องนี้ อยู่ที่ว่าเราเองจะสามารถเดินไปด้วยกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปพร้อมๆ กันได้หรือไม่ ผู้เขียนเองไม่ได้บอกว่ามนุษย์ไม่มีความสำคัญแต่จะบอกว่ามนุษย์ที่มีความสำคัญคือมนุษย์ที่มีคุณภาพ เห็นจากในสื่อภาครัฐออกมาแจ้งว่าแรงงานของมนุษย์ยังมีความสำคัญ สำหรับผมแล้วเห็นว่าเมื่อระบบอัจฉริยะเข้ามาโรงงานจะใช้คนทำงานน้อยลง ยกตัวอย่างเช่นหุ่นยนต์ที่ยกพาเลทจะมาแทนที่แรงงาน มีคนคิดคำนวณต้นทุนแล้วพบว่าหากเราใช้แรงงานยกย้ายสินค้าพาเลท ต้นทุนจะใช้อยู่ประมาณ 5 บาท ต่อ 1 พาเลท แต่ถ้าเราใช้หุ่นยนต์ยกย้าย ต้นทุนจะใช้เหลือเพียง 1.50 บาท แล้วถ้าแต่ละวันต้องยกย้ายจำนวนมาก ผลต่างของต้นทุนจะเห็นได้ชัดมาก จนนักลงทุนไม่มองไม่พิจารณาไม่ได้อีกต่อไป ผลที่ตามมาไม่เพียงแต่แรงงานแม้แต่พื้นที่การจัดเก็บก็ลดลงมากถึง 50% เลยทีเดียว ถ้าเป็นเช่นนี้พวกเราก็คงหนีไม่พ้นกับการจัดการสมัยใหม่ด้วยAI Smart Factory เป็นแน่แท้

การทำให้คนมายอมรับเทคโนโลยี AI ได้อย่างไร เป็นสิ่งที่เราต้องหาคำตอบในเรื่องนี้ เดิมทีไม่มีใครรู้จักระบบ Automation แต่ปัจจุบันนี้การทำธุรกิจของพวกเราได้ก้าวหน้า การแข่งขันมากขึ้นก็มีคำถามจากนักลงทุนให้กับผู้ผลิตระบบ Automation ว่าจะทำอย่างไรให้ต้นทุนลด หมดความยุ่งยาก และสามารถลงทุนได้ไม่ยากเกินไป ยิ่งถ้ามีการสนับสนุนจากภายรัฐเรื่องการยกเว้นภาษีก็ถือว่าดีมาก ก่อนอื่นเราต้องคำนึงถือต้นทุนของผู้ใช้ถ้าเป็นระบบที่เคยทำกันปกติเป็นมูลค่าเท่าไร แล้วค่อยมาคิดถึงว่าจะมีจุดไหนประหยัดได้ แน่นอนผู้ผลิตระบบต้องคิดและตีแตกความซับซ้อนที่มีอยู่ให้แต่ทุกข้อ แล้วนำเสนอ AI จะมาทดแทนอันดับแรกๆ ที่ต้องคำนึงถึงคือ

  1. เงินลงทุนที่จะต้องลงทุน ในกาลนี้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไร และจะคุ้มทุนกลับมาภายในระยะเวลาเท่าไร และระบบที่สร้างนี้จะคงอยู่กับเขาไปอีกนานเท่าไร
  2. ความยุ่งยากต่อการจัดสร้างสถานที่ เปลี่ยนแปลงระบบที่เคยทำ บุคลากรที่ต้องปรับการทำงานใหม่ การฝึกอบรมพนักงาน ผู้จัดการ จนถือผู้บริหาร ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการสร้าง AI ไม่ว่าจะเป็น Hrad Ware หรือ Soft Ware ก็สามารถจัดการได้ในระยะเวลาสั้นกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตมาก
  3. พื้นที่ที่จะสามารถประหยัดลงได้ ลงได้เท่าไร แล้วพื้นที่ที่เหลือที่เคยมีจะพัฒนาเอาไปทำอะไรได้
  4. ภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องการยกเว้นภาษี สำหรับการทำโรงงานให้เป็น AI Smart Factory ทางไหนได้บ้าง เงินที่ภาครัฐจะยกเว้นภาษีให้อาจจะเพียงพอกับการลงทุนทำระบบนี้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ หรือทั้งหมด
  5. ความยุ่งยากที่เกิดจากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอารมณ์ สวัสดิการ ความเหน็ดเหนื่อย การดูแลอุบัติเหตุ สามารถลด และยังคัดสรรพนักงานที่มีคุณภาพไว้ขยายธุรกิจได้ต่อไป
  6. ความคล่องตัวของเวลาทำงานที่สามารถใช้คนไม่มาก แต่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีต้นทุนต่ำ
  7. เสริมสร้างความทันสมัยเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้า เป็นหน้าเป็นตา สร้างชื่อเสียง และความเชื่อมั่น
  8. ลดเวลาการจัดเตรียม การผลิต การขนส่ง ได้ทุกช่องทาง ประหยัดเวลาทำงานในทักส่วนที่กล่าวไปได้มากกว่าครึ่ง เหลือเวลาที่จะสามารถเอาเวลาที่เหลือไปสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นได้อีก

ปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับการลงทุนด้านเทคโยโลยี AI

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนั้น เราต้องสำรวจและพิจารณาความพร้อมด้วยดังต่อไปนี้

  1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค ปัจจุบันระบบ AI สามารถประดิษฐ์เพื่อตอบสองผู้ใช้ได้อย่างหลากหลาย เทคนิคต่างๆที่ประกอบเข้าเป็นระบบเป็นสิ่งที่เรามองเห็น จับต้องได้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความคิด
  2. ต้นทุนสำหรับการลงทุนและพัฒนา ผู้ที่สนใจลงทุนอย่างน้อยต้องมีผลประกอบการที่ดี มีกำไรคงเหลือสะสม หรือแม้แต่ผู้ที่คาดว่าธุรกิจของตนเองสามารถเติมโตในอนาคตก็สามารถขอการสนับสนุนจากสถาบันการเงินได้
  3. แรงงานที่สามารถปรับให้เข้าสู่ยุคใหม่ได้ บางคนกลัวว่าเครื่องจักรจะมาแทนที่มนุษย์ จริงแล้วเครื่องจักรต่างๆ ก็มีแนวคิดหรือการตัดสินใจที่เริ่มมาจากมนุษย์ แต่พวกเราเสียอีกที่ต้องเตรียมพร้อมเพราะปัจจัยหลักนอกจากการลงทุนในระบบนี้แล้ว การจัดการด้านบุคลากรก็เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาไปด้วยกัน ไม่สามารถแบ่งแยกได้โดยสิ้นเชิง ทั้งระบบ ผู้บริหาร พนักงาน ต้องปรับตัวไปด้วยกัน
  4. ผลตอบรับคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ หากมองในแง่เศรษฐศาสตร์ระบบที่จะมาเติมเต็มนี้จะต้องได้ทั้งความประหยัดไม่สิ้นเปลือง การใช้พลังงาน ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า ปัจจุบันเราได้เห็นเครื่องมือที่ทันสมัย แต่การที่จะให้เครื่องมือที่ทันสมัยก็ต้องมีองค์ประกอบอื่น เพื่อให้เครื่องจักรที่ทันสมัยนี้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. กฎหมาย ระเบียบ และสังคมรองรับ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ การส่งออก การยกเว้นภาษี การลดการใช้พลังงานนั้นปัจจุบันก็มีการรองรับเรื่องการยกเว้นภาษีหลายด้านให้กับผู้ประกอบการที่ใช้ระบบ Automation มาทำงานอีกด้วย

ระบบ Automation มาใช้ในโรงงานต้องเตรียมตัวและทำอย่างไรบ้าง

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการใช้ระบบอัตโนมัตินั้น มีผลต่อเทรนด์ความนิยมชมชอบของลูกค้า ความเปลี่ยนแปลงความได้เปรียบทางการตลาด ปัญหาที่พบของการขาดแคลงแรงงานความยุ่งยากของแรงงานที่มีคุณภาพไม่มาก ความสำเร็จเมื่อเราใช้ระบบ Automation มาใช้งาน ทุกสิ่งไม่ได้โปรดด้วยกลีบกุหลาบที่ทำแล้วจะสำเร็จสมความตั้งใจ แต่หากว่าเรามีความประสงค์ชัดเจน จัดระบบใหม่ ประสิทธิภาพของพนักงานพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน เราจะไม่สูญเปล่ากับสิ่งนี้ แต่หากเราทำและไม่มีความตั้งใจพอเราอาจจะพบกับความสูญเปล่าทั้งทรัพย์ เวลา และความรู้สึก หากเราต้องการลงทุกสิ่งสำคัญที่เราต้องพิจารณา ได้แก่

  1. เราจะเริ่มลงทุนเมื่อไร เหตุใดที่เราจะลงทุนระบบ AI Smart Factory หรือ ระบบ Automation เป็นได้หรือไม่ที่คู่แข่งของเรากำลังซุ่มเงียบ และทำบางสิ่งที่เสริมประสิทธิภาพ เรื่องนี้อยู่ที่ว่าใครจะไวกว่ากัน ใครจะปรับตัวได้เร็วกว่ากันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยี หากผู้อ่านเป็นนักลงทุนท่านจะพิจารณาเรื่องนี้เมื่อไร เพราะถ้าช้าอาจจะสายเกินไปแล้วก็เป็นได้
  2. เริ่มต้นกันอย่างไร หากวันนี้ได้มีการวิเคราะห์เป้าหมายในการลงทุน ก็ควรจะมองระบบที่เป็นอนาคต ที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า มีการวางแผนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งปัจจุบัน ก็มีบริษัทที่สามารถทำเรื่องนี้ได้โดยบริษัทของคนไทย เช่น ICAS Technology (Thailand) Co.,Ltd. กับระบบ Warehouse Automation, Logistic & Factory Automation Systems หรือ บริษัท SenSorNic Co.,Ltd. ที่ทำระบบการเก็บสินค้าระบบกระเช้าควบคุมด้วย AI เป็นต้น สามารถให้คำแนะนำจัดทำวางแผนระบบให้ทันสมัยมากกว่าคู่แข่งอื่นๆได้ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยทัดเทียมต่างประเทศแต่เป็นฝีมือคนไทย ดูแลระบบ และงบประมาณแบบไทยๆ ได้
  3. จัดเตรียมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบใหม่นี้ โรงงานจำเป็นที่จะต้องจัดหาบุคลากรและทีมที่จะพัฒนาตั้งเป็นกลุ่มดำเนินงาน อาจจะจำเป็นถึงตั้งผู้จัดการโครงการ เพื่อสานความต้องการให้สำเร็จและใช้งานได้สมดังที่ตั้งใจและคุ้มกับเงินลงทุน
  4. สรรหา Supplier ที่มีความสามารถ ช่วยเหลือเราได้ทุกเวลาที่ต้องการ ดังที่ผู้เขียนได้แนะนำไปในข้อ 2 แล้ว เราต้องมั่นใจว่าจะมีคนมาคอยดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง เราสามารถเชื่อใจ วางใจ มั่งใจได้ และเคยมีผลงานที่ทำงานอ้างอิงได้
  5. รายละเอียดที่จะต้องเตรียม ก่อนจะเจรจากับผู้ผลิตระบบ เราต้องมีความชัดเจน เป้าหมาย และรายละเอียดที่จะทำให้มากที่สุด เพื่อให้สิ่งที่ทำนั้นคุ้มค่า ถ้าไม่เตรียมให้พร้อมที่สุดเมื่อระบบทำเสร็จเราจะรู้สึกว่าเสียดายเพราะการแก้ไขเพราะขาดรายละเอียดอาจจะทำให้ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเติมอีก
  6. การลงทุนที่วัดได้ในเชิงปริมาณ เมื่อลงทุนสิ่งที่คาดหวังที่สุดคือระบบใหม่จะมีประสิทธิภาพ สำคัญสุดต้องวัดผลชี้วัดได้ นำมาวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าได้จริง เช่น ความมุ่งหวังที่คาดหวังไว้ +- ไม่เกิน 5% ก็น่าจะเป็นที่พอใจ
  7. การตรวจสอบรายละเอียดในสัญญา ขอบเขตการทำงาน การสนับสนุนจากภารรัฐ การให้ประกันหลังการขาย การอบรมด้านเทคนิค และการประกันความคุ้มค่าของอัตราการผลิต เป็นต้น
  8. การติดตามตรวจสอบโครงการ ตรวจสอบว่าการวางแผนที่จะดำเนินการนั้นเป็นไปตามแผน มีการประเมินผล ทั้งการจัดซื้อ การติดตั้ง การทดสอบ การส่งมอบ การอบรม เป็นไปตามที่ออกแบบกันไว้แต่แรก การทำงานทุกขั้นตอนอยู่ในเวลาในสัญญา รวมถึงการปฏิบัติทั้งสองฝ่ายที่ทำตามตกลงกัน
  9. การ Training บริษัทผู้ซื้อระบบต้องได้แผนการอบรม เพื่อให้พนักงานที่รับหน้าที่ ทั้งพนักงานปฏิบัติการ พนักงานดูแลระบบ พนักงานซ่อมบำรุง ได้เข้ารับการอบรมทั้งได้คู่มือปฏิบัติงานมีให้ครบถ้วนตามจำนวน
  10. การรับมอบและการทำสอบให้ได้จริง สามารถยืนยันการทำงานตรงตามวัตถุประสงค์เป็นที่พึงพอใจ รวมถึงอะไหล่ตามข้อตกลงครบถ้วน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า