โลกธุรกิจการพิมพ์หลังโควิด ถึงเวลาต้องคิดแบบดิจิทัล

โลกธุรกิจการพิมพ์หลังโควิด ถึงเวลาต้องคิดแบบดิจิทัล

ลิม ชุน เต็ก กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ (ประเทศไทย)

หลังจากหนึ่งปีที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียในปี 2564 นี้ จะเริ่มเห็นอุตสาหกรรมการพิมพ์บรรจุภัณฑ์เริ่มฟื้นตัวจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ คำถามคือเส้นทางสำหรับสิ่งพิมพ์ต่อจากนี้จะยังเติบโตต่อไปหรือจะเป็นเหมือนโชคชะตาเพียงสั้นๆ

ผลกระทบจากล็อคดาวน์ ร้านค้าต้องปิดลงและข้อจำกัดการเดินทางที่ส่งผลร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ แต่การหยุดชะงักนี้ได้สร้างเงื่อนไขใหม่ในการแข่งขันด้านนวัตกรรมอย่างน่าตื่นเต้น การสำรวจตลาดพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าช่องทางออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ รวมถึงการเติบโตของฟู้ดดีลิเวอรี่ และกระแสการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญผลักดันให้อุตสาหกรรมเข้าสู่การเติบโต

ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทยของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องด้วยมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2561 ซึ่งคาดว่า 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 และกระแส “กระดาษบรรจุภัณฑ์” เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภคกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ยกตัวอย่าง กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast-Moving Consumer Goods หรือ “FMCG”) ในธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ มองเห็นโอกาสจากวิกฤติครั้งนี้เป็นการพลิกเกมส์ขึ้นมาใหม่ แม้สิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมค่อยๆถดถอย เช่นเดียวกับการชะลอในสิ่งพิมพ์ดิจิทัล แต่จากสภาวะความตื่นตระหนกแสดงให้เห็นถึงความต้องการซื้อมากกว่าปกติ ชั้นวางสินค้าว่างเปล่า และคิวซื้อจำนวนมากเป็นจุดเริ่มต้นของการปฎิวัติครั้งใหญ่และส่งผลกระทบทั่วท้องตลาด

การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการพิมพ์ระดับโลกของ Quocirca พบว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงถึงภาวะปกติใหม่ไปจนถึง พ.ศ.2568 เรียกร้องผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของศักยภาพการพิมพ์ เร่งขยายขีดความสามารถเพื่อรองรับธุรกิจโดยนำกระบวนการทางดิจิทัลบนคลาวด์มาใช้ ซึ่ง 70% ของผู้บริหารที่เข้าร่วมศึกษาพบว่าระบบการพิมพ์อนาล็อกลดลงมากกว่าระบบดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญ การพิมพ์แบบกราฟิกภายในปี 2568 เฉลี่ยสูงขึ้นถึง 7.5% จากการฟื้นตัว สำหรับ เอชพี พบว่าลูกค้ากลุ่มการพิมพ์ดิจิทัล HP Indigo เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับปี 2562 รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและสาธารณสุข มีความต้องการเพิ่มขึ้น 47% และ 79% ของผู้บริหารสิ่งพิมพ์เชื่อว่า COVID-19 เป็นโอกาสในการผลักดันนวัตกรรมและโซลูชั่นบริการอันหลากหลายกระจายออกไปเพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดที่หดตัวลง ผู้บริหารสิ่งพิมพ์ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัว รูปแบบการดำเนินงาน เพื่อนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดพร้อมขับเคลื่อนการเติบโตต่อจากนี้ และตลอดปีที่ผ่านมาเน้นย้ำเรื่องการปรับตัว ความคล่องตัวเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ผลิตต้องเร่งขยายขีดความสามารถให้ธุรกิจเติบโต ด้วยการพิมพ์แบบดิจิทัลตอบสนองความต้องการได้ ช่วยให้ผลิตงานออกสู่ตลาดรวดเร็ว ตรงเวลา นับเป็นการพัฒนาอันน่าทึ่งในช่วงเวลาที่ผันผวน คาดว่าอัตราการขยายตัวจะถึง 40% ของตลาดในอนาคตอันใกล้นี้

การปฏิรูปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง การพิมพ์ดิจิทัลช่วยให้ประสบความสำเร็จ เห็นได้ว่าลูกค้ามีความต้องการแตกต่างเฉพาะบุคคล จากการสั่งซื้อปริมาณลดลงแต่ความต้องการหลากหลายและเร่งด่วนมีมากขึ้น ผู้ซื้อจะแยกคำสั่งซื้อเพื่อเก็บรักษาเงินสดในสต็อก ในเอเซียนผู้ผลิตงานพิมพ์ส่วนมากมองว่านี่คืออนาคต เป็นโอกาสพิสูจน์ธุรกิจ ด้วยการลงทุนเพิ่มเครื่องมือการพิมพ์ประสิทธิภาพเพื่อก้าวพ้นจากกับดักราคาสินค้า พร้อมระบบดิจิทัลรองรับงานพิมพ์แบบเฉพาะบุคคล และอีคอมเมิร์ซ เสริมความคล่องตัวการทำงาน ใช้งานผ่านเว็บอัตโนมัติ สามารถจัดการงานจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ลดต้นทุน ลดข้อผิดพลาด ทำให้ออกจากข้อจำกัดเดิมของเครื่องมือทั่วไป

ธุรกิจการพิมพ์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในทศวรรษที่ผ่านมา การพิมพ์ระบบดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าตลาดรายใหม่สามารถแข่งขันได้ด้วยเครื่องพิมพ์มาตรฐานได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการพิมพ์ฉลากและบรรจุภัณฑ์หลายราย ซึ่งมีข้อมูลการผลิตเพิ่มขึ้นในปี 2563 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ลูกค้าต้องการงานเร่งด่วน การพิมพ์แบบดิจิทัลช่วยให้แบรนด์ทั้งหลายออกบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ สู่ตลาดได้รวดเร็ว ด้วยระยะเวลาผลิตอันสั้น ผู้ผลิตจึงเลือกใช้ระบบการพิมพ์ดิจิทัล HP Indigo เทคโนโลยีใหม่ช่วยรองรับการผลิตหลายรูปแบบ ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถแข่งขันกับแบรนด์ขนาดใหญ่ได้ สามารถจัดหาบรรจุภัณฑ์ยืดหยุ่นมีคุณภาพสูง สำหรับการใช้งานระยะสั้น ด้วยต้นทุนการผลิตต่ำ และไม่กำหนดปริมาณการสั่งซื้อ ในขณะที่แบรนด์ขนาดใหญ่สามารถเปลี่ยนการสั่งซื้อลดปริมาณน้อยลง เพื่อลดสินค้าคงคลังให้น้อยที่สุด พร้อมให้บริการรูปแบบการผลิตที่หลายหลายในการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายนี้


ที่มา https://www.smartsme.co.th/content/244309

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า