โครงการอบรมเรื่องการพิมพ์ออฟเซตเบื้องต้น ครั้งที่ 14
ระยะเวลาในการอบรม ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. – 28 มี.ค. 2563
รวมทั้งหมด 9 สัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น.
สถาบันการพิมพ์ไทย นิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์สินสาคร ซอย S1/4
วิทยากร: ดร.อนันต์ ตันวิไลศิริ และทีมวิทยากร
ดาวโหลดใบสมัคร
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร
ดาวโหลดเอกสารหลักสูตร
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตร
หลักการและเหตุผล
ในการผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยระบบการพิมพ์ออฟเซต มีกระบวนการผลิตที่สามารถแบ่งได้ 3 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนงานเตรียมพิมพ์ ขั้นตอนงานพิมพ์ และขั้นตอนงานหลังพิมพ์ ซึ่งทุกขั้นตอนมีความสำคัญ เนื่องจากกระบวนการพิมพ์ที่ดี ต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกัน หากขั้นตอนงานในส่วนใดมีข้อผิดพลาด อาจทำให้เกิดปัญหาต่อขั้นตอนอื่นๆ ได้ การพัฒนาประสิทธิภาพของการผลิตสิ่งพิมพ์ สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การพัฒนาระบบการจัดการ รวมถึงการจัดหาเทคโนโลยีทางด้านเครื่องจักรในการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะความรู้ความสามารถและคุณภาพของบุคลากร ที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์กรนั้น ๆ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อจะได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ในการทำงานหรือสร้าง “ผลงาน” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง วิธีหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรก็คือ “การฝึกอบรม” เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถและเพิ่มทักษะของพนักงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการแก้ไขปัญหางานได้ดี ดังนั้นหลักสูตรฝึกอบรมการพิมพ์ออฟเซตเบื้องต้น จึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้ที่สนใจการปฏิบัติงานพิมพ์ด้วยการพิมพ์ออฟเซต เปนหลักสูตรที่เน้นการศึกษาภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ รวมถึงการเข้าเยี่ยมชม ดูงานบริษัทที่ผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุทางการพิมพ์ออฟเซต
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพิมพ์งานด้วยระบบการพิมพ์ออฟเซต
- เพื่อสร้างทักษะการพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น
วัน และเวลาการฝึกอบรม
ทุกวันเสาร์ 9 เสาร์ เริ่มฝึกอบรม วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป
ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 16.00 น.
สถานที่
สถาบันการพิมพ์ไทย นิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์สินสาคร ซอย S1/4
ตารางการอบรม
วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563
09.00 น. – 12.00 น. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพิมพ์ออฟเซตกระบวนการพิมพ์ออฟเซต Prepress, Press, Postpress
13.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการทำแม่พิมพ์ออฟเซตและการควบคุมคุณภาพการทำแม่พิมพ์
วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563
09.00 น. – 12.00 น. ส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์ออฟเซต (ส่วนป้อน, ส่วนพิมพ์และส่วนรองรับ)
13.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการเดินกระดาษ
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563
09.00 น. – 12.00 น. การปรับตั้งแรงกดต่างๆ ในเครื่องพิมพ์ออฟเซต (การรองหนุน, แรงกดระหว่างลูกหมึก และลูกน้ำ)
13.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการปรับตั้งแรงกดต่างๆ ในเครื่องพิมพ์ออฟเซต
วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563
09.00 น. – 12.00 น. น้ำยาฟาว์นเทน, กระดาษและหมึกพิมพ์
13.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการผสมน้ำยาฟาวน์เทนและการควบคุมคุณภาพน้ำยาฟาว์นเทน
วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
09.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการพิมพ์งานสองสี
วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2563
09.00 น. – 12.00 น. การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์
13.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการผสมหมึกทางการพิมพ์
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563
09.00 น. – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการพิมพ์งาน 4 สี
วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563
09.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการพิมพ์งาน 4 สี
13.00 น. – 16.00 น. การสอบประเมินผล
วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2563
09.00 น. – 12.00 น. การเยี่ยมชมดูงานบริษัทผลิตหมึกพิมพ์
13.00 น. – 16.00 น. การเยี่ยมชมดูงานบริษัทผลิตลูกยาง
เงื่อนไขการรับเกียรติบัตรจากสมาคมการพิมพ์ไทย
จะต้องมีเวลาในการเข้าฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
ค่าลงทะเบียน
25,000.- บาท
รวมเอกสารการอบรม วัสดุการพิมพ์อาหารว่างและอาหารกลางวัน
(ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
การชำระเงิน
เช็คสั่งจ่าย “สมาคมการพิมพ์ไทย”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สมาคมการพิมพ์ไทย โทร. 02 719 6685-7
E-mail: vassana.tpa@gmail.com และ mayuree.tpa@gmail.com
*หมายเหตุ เวลาเรียนและวิชาที่สอนอาจเปลี่ยนแปลงได้เพื่อความเหมาะสม