Flexo or Digital ?
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบต้นทุน บมจ.หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์
การที่จะเข้าใจชัดเจนว่าเทคโนโลยีใดเหมาะกับงานพิมพ์ ต้องกำหนดคำจำกัดความของงานพิมพ์ปริมาณน้อยๆ เป็นอันดับแรก และแน่นอนว่าจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่เพื่อใช้ทำเปรียบเทียบเรากำหนดที่จะพิมพ์ลาเบลสติคเกอร์ งานพิมพ์ Bully 3 แบบ จำนวน 120,000 ลาเบล ซึ่งจะใช้วัสดุลาเบลยาว 6,000 กว่าเมตร (Fig. 3 และ 4) ในมุมของ Inkjet และ Toner พบว่าทั้งสองเทคโนโลยีใช้เวลาเตรียมเครื่องประจำวันสั้นกว่า ไม่สูญเสียเวลาเมื่อเปลี่ยน Versioning การพิมพ์ และใช้เวลาน้อยมากเพื่อเตรียมเครื่องสำหรับการพิมพ์งานถัดไป แต่ว่า Flexo มีเพียงประเด็นเดียวที่ได้เปรียบ คือความเร็ว และยังพบว่า Inkjet เป็นผู้ชนะอย่างชัดเจน และ Toner ก็รั้งมาอันดับท้ายชัดเจนเช่นกัน หากนำการใช้งานแต่ละวันมาคำนวณเป็นกำลังการผลิตต่อปี จะยิ่งพบว่า Inkjet ก็ยังเป็นผู้ชนะที่แท้จริง ด้วยกำลังการผลิตที่มากกว่าถึง 30% เมื่อเทียบกับ Flexo ที่ซึ่งมีกำลังการผลิตรองลงมา และหากพิจารณารวมวัสดุเหลือใช้ หรือของเสีย ก็ยิ่งทำให้ Flexo เสียเปรียบทั้งในด้านของต้นทุน และประเด็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
พิมพ์น้อย (Low Coverage) พิมพ์กลาง (Medium Coverage) พิมพ์มาก (High Coverage) หากเจาะลงในรายละเอียดต้นทุนต่าง ๆ ของงานพิมพ์ทั้ง 3 งาน จะพบว่า Flexo มีค่าใช้จ่ายจากวัสดุเหลือใช้ หรือของเสียมากถึง 8% และมากกว่าขบวนการผลิตด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี แต่หากนำค่าหมึก และค่า Click Charge มาคำนวณ ปรากฎว่า Toner จะแพงที่สุด ถึงแม้ Flexo จะประหยัดจากค่าหมึก แต่จะเสียค่าใช้จ่ายไปกับค่าเพลทพิมพ์ เครื่อง Flexo มักจะมีขบวนการ Finishing เบ็ดเสร็จในตัว ดังนั้นต้นทุนการทำไดคัท และการขจัดวัสดุเหลือใช้จึงรวมอยู่ในขบวนการพิมพ์แล้ว เพื่อให้เท่าเทียมกัน เวลาและต้นทุนที่ใช้ทำ Finishing งานที่พิมพ์จากดิจิทัลเทคโนโลยีจะต้องนำต้นทุนเหล่านี้มาคำนวณด้วย (Fig. 3) เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบต้นทุนต่อ 1,000 ลาเบลระหว่าง 3 เทคโนโลยีได้อย่างครบถ้วน
จากงานที่ใช้ทำเปรียบเทียบ หากนำค่าแรงงาน, ค่าเสื่อมราคาเครื่อง, ค่าบริการ แต่ไม่นำค่าทำงานพิมพ์ Versioning มาคิดด้วย ส่งผลให้ Digital Inkjet มีต้นทุนที่ดีกว่า Flexo 4% และยังดีกว่า Digital Toner ถึง 43%
อย่างไรก็ตามงานพิมพ์ทุกวันนี้มักจะเป็นงานลักษณะ สั่งครั้งเดียวหลาย SKU ซึ่งจะต้องมีค่าเพลทพิมพ์ การเสียเวลาหยุดเครื่อง และค่าใช้จ่ายวัสดุเหลือใช้ หรือของเสีย ส่งผลให้การพิมพ์ด้วย Inkjet ยิ่งมีข้อดีมาก ๆ ขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น
จากงานพิมพ์ Bully ที่มี 3 Version และใช้วัสดุลาเบล 6,000 เมตร จะเป็นจุดสมดุลที่ต้นทุนการพิมพ์ด้วย Digital Inkjet และ Flexo เท่า ๆ กัน เมื่อปริมาณงานพิมพ์มากกว่า 6,000 เมตร Flexo จะพิมพ์งานที่ต้นทุนดีกว่า แต่หากงานพิมพ์น้อยกว่า 6,000 เมตร หรือมีงานพิมพ์ Versioning จะทำให้ Digital Inkjet เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุด นอกจากนี้หากพิจารณาในประเด็นกำลังการผลิตของทั้ง 3 เทคโนโลยีพบว่า Digital Inkjet ผลิตได้มากกว่าถึง 30% เมื่อเทียบกับ Flexo และ 132% เมื่อเทียบกับ Liquid Toner (Fig. 5) ยิ่งถ้าพิจารณาในประเด็นงานพิมพ์ปริมาณน้อย ๆ แล้ว ยิ่งทำให้ Digital Ink Jet เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก
“ข้อมูลราคาที่ระบุใช้เพื่อทำรายงานฉบับภาษาอังกฤษ และไม่เป็นราคาสินค้าที่จำหน่ายในประเทศไทย หากประสงค์ได้รับข้อมูลการคำนวณการวิเคราะห์ความคุ้มค่า สำหรับธุรกิจของท่าน บริษัทฯ พร้อมให้คำปรึกษาหารือเพื่อทำแบบคำนวณวิเคราะห์ สามารถติดต่อได้ที่ sawarat.t@harn.co.th, thammanoon.t@harn.co.th”