เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์อาหารในญี่ปุ่น

เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์อาหารในญี่ปุ่น

สิ่งที่ผู้บริโภคเห็นและสัมผัสเป็นอย่างแรกนั้นไม่ใช่ตัวผลิตภัณฑ์ แต่เป็นแพคเกจจิ้ง หรือบรรจุภัณฑ์ผู้บริโภคญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับแพคเกจจิ้งอย่างมาก

ความสำคัญของ “บรรจุภัณฑ์” กับตลาดญี่ปุ่นในปัจจุบัน

สิ่งที่ผู้บริโภคเห็นและสัมผัสเป็นอย่างแรกนั้นไม่ใช่ตัวผลิตภัณฑ์ แต่เป็นแพคเกจจิ้ง หรือบรรจุภัณฑ์นั่นเอง ทั้งนี้ ผู้บริโภคญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับแพคเกจจิ้งอย่างมาก เห็นได้จากรูปแบบแพคเกจจิ้ง และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีทั้งที่วางจำหน่ายมานานตั้งแต่สมัยก่อนเป็น long seller ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัยบ้าง หรืออาจจะคงความดั้งเดิมเอาไว้ก็มีให้เห็นกันเรื่อยมา ทั้งนี้สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ออกมาวางจำหน่ายในปัจจุบัน ก็จะเห็นความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ประกอบกับสะท้อนเทรนด์ที่เป็นที่นิยมในตัวบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น เทรนด์แนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้สินค้าต่างประเทศที่บริษัทผู้นำเข้านำมาวางจำหน่ายในญี่ปุ่น บ้างก็มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับตลาดญี่ปุ่น ในขณะที่บางผลิตภัณฑ์ก็คงรูปแบบเดิมที่วางจำหน่ายในประเทศต้นทางไว้ แต่มีการติดสติ๊กเกอร์อธิบายเป็นภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติมไว้ที่ด้านข้าง หรือด้านหลังของตัวบรรจุภัณฑ์เดิมก็มีให้เห็นเช่นกัน

1. ดีไซน์แนว Minimal ที่ทำให้ผู้เห็นรู้สึกผ่อนคลาย

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มความต้องการเห็นอะไรที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้หนึ่งในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกมาใหม่ และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จะเป็นแนว Minimal ด้วยดีไซน์ที่ดูเรียบง่าย ประกอบกับวัฒนธรรม และลักษณะนิสัยของผู้บริโภคญี่ปุ่น ทำให้บรรจุภัณฑ์ในลักษณะนี้มีให้เห็นกันมากขึ้น ด้วยความพยายามออกแบบให้มีตัวอักษรน้อยที่สุด (ใส่เฉพาะที่จำเป็น) และเลือกสีองค์ประกอบที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

2. ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบัน ขณะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อม ญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน แนวคิด SDGs (Sustainable Development Goals) หรือ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เห็นได้แพร่หลายในหลากหลายธุรกิจ และในชีวิตประจำวัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ ที่ผลิตสินค้า และใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์กันมากในอดีต นั่นก็คือ พลาสติก ก็เริ่มมีแนวโน้มเปลี่ยนไป ผู้ผลิตพยายามเปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทนพลาสติกกันมากขึ้น เช่น กระดาษ หรือ พลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Biomass plastic) เป็นต้น

3. สะท้อนแนวคิด “การบริโภคยึดจริยธรรม” ในบรรจุภัณฑ์

การบริโภคยึดจริยธรรม (Ethical consumption) ซึ่งคำนึงถึงบริษัทอื่นและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติเริ่มดึงดูดความสนใจผู้บริโภคมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจโดยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคของญี่ปุ่น (Consumer Affairs Agency) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่าคำว่า “การบริโภคยึดจริยธรรม” เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้นสามเท่าเมื่อเทียบกับปี 2559 ทั้งนี้บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่หลายรายก็ผสมผสานแนวคิดนี้ลงไปในการออกแบบ หรือปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เช่น สินค้าไส้กรอกชื่อดัง “SCHAU ESSEN” ของบริษัท Nippon Ham Co., Ltd. ด้วยการเปลี่ยนจากรูปแบบบรรจุภัณฑ์เดิมที่มีการผูกถุงคล้ายโบ เป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ “Eco Pillow Type” ทำให้ลดปริมาณวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ลดลงร้อยละ 28 ด้วยวิธีนี้ ความพยายามที่มุ่งเป้าไปที่การลดภาระที่จะสร้างขยะให้กับสิ่งแวดล้อมก็สามารถดึงดูดความสนใจผู้บริโภคในญี่ปุ่นได้เช่นกัน

4. ดีไซน์ “Y2K” ในบรรจุภัณฑ์

อีกหนึ่งดีไซน์ที่ได้รับความนิยมในการนำมาออกแบบบรรจุภัณฑ์ในญี่ปุ่น คือ ดีไซน์สไตล์ “Y2K” (Year 2 Thousand) คือการนำดีไซน์ที่เคยดังในอดีตเมื่อ 20-30 ปีก่อนหน้า กลับมาประยุกต์ใช้อีกครั้ง ซึ่งได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น อาจจะเรียกอีกอย่างว่า สไตล์เรโทร (Retro) ซึ่งให้ความดูขลัง แต่เก๋ไปในขณะเดียวกัน เห็นได้จากบรรจุภัณฑ์ของขนมเยลลี่ชื่อดัง Pure ของบริษัท Kanro ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวรายใหญ่ของญี่ปุ่น ที่นำลายอาร์ไจล์ (Argyle) หรือ ลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเรียงต่อกัน อาจเป็นลายที่เรียงต่อกันธรรมดา หรือมีการเพิ่มลูกเล่นด้วยเส้น

5. เน้นดีไซน์ไม่เพียงแค่ด้านนอกแต่ใส่ใจกำรดีไซน์บรรจุภัณฑ์ด้านในด้วย

แพ็คเกจนี้ให้ความรู้สึกพิเศษแก่ผู้บริโภคโดยให้ความสำคัญในการออกแบบทั้งภายในและภายนอก เช่น ขนมชื่อดังที่ขายมายาวนาน Long seller ในญี่ปุ่น “Choco Pie <Magic Blueberry Fromage>” ของบริษัท Lotte มีการวาดภาพประกอบของเทพนิยายชื่อดัง “Cinderella” ที่ด้านในของบรรจุภัณฑ์ เป็นภาพที่เจ้าชายวางของโปรดไว้บนเบาะในมือ ซึ่งได้รับความสนใจมากผู้บริโภคในญี่ปุ่นถ่ายรูปโพสต์บน SNS กันอย่างแพร่หลาย เห็นได้ว่าผู้บริโภคเองให้ความสนใจที่จะเพลิดเพลินไปกับการออกแบบไม่เพียงแต่ในขณะที่หยิบบรรจุภัณฑ์ แต่ยังรวมถึงหลังจากที่ทานขนมไปแล้วอีกด้วย

6. ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ที่มีมิติ (3 มิติ)

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีมิติ หรือเป็น 3 มิติ ก็เป็นหนึ่งในเทรนด์เช่นกัน เนื่องจาก3D มีความกว้าง และความลึก ประกอบกับการที่วัตถุที่โผล่เด่นออกมา เป็นการออกแบบที่ดึงดูดสายตาผู้บริโภคได้ง่าย นอกจากนี้ การออกแบบโดยใช้ 3D จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ก็จะเป็นการนำไปสู่ภาพลักษณ์แบรนด์ “บริษัทที่นำเทรนด์” ได้อีกด้วย

ตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มที่น่าสนใจในญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่นเอง สินค้าใหม่ ๆ ก็มีการออกวางจำหน่ายสู่ตลาดกันเรื่อยมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี ทั้งนี้ถ้าพิจารณาถึงเรื่องดีไซน์แล้ว ก็คงต้องกล่าวถึงสถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ Japan Institute of Design Promotion (JDP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดีไซน์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการ และเป็นผู้รับรอง Good Design Award (G-mark) ในประเทศญี่ปุ่นที่มีการให้รางวัลในแต่ละปี เป็นรางวัลด้านการออกแบบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้หนึ่งในบรรจุภัณฑ์น้ำชาเขียวชื่อดังที่จำหน่ายในญี่ปุ่น IYEMON ของบริษัท SUNTORY BEVERAGE & FOOD LIMITED

ได้มีการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นแบบไม่มีฉลาก “IYEMON Labeless” และได้รับรางวัล Grand Award สำหรับสาขาบรรจุภัณฑ์ในญี่ปุ่นปี 2564 ทั้งนี้แนวคิดการจำหน่ายสินค้าเครื่องดื่มแบบไร้ฉลาก แต่มีการแปะสติ๊กเกอร์ขนาดเล็กเพื่ออธิบายผลิตภัณฑ์เป็นที่นิยมมากในญี่ปุ่นด้วยแนวคิดที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติลดขยะที่เกิดจากฉลาก บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ในญี่ปุ่นล้วนปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ในลักษณะนี้ และวางจำหน่ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ในเดือนเมษายน 2564 “Asahi Super Dry Nama Jokki Kan” บรรจุภัณฑ์ใหม่ของเบียร์ Asahi วางจำหน่ายในญี่ปุ่น และสร้างปรากฏการณ์ความนิยมท่วมท้น ทำให้สินค้าขาดตลาดชั่วคราว ด้วยสาเหตุที่บรรจุภัณฑ์ได้รับการออกแบบพิเศษสามารถดึงฝากระป๋องออกมาได้ทั้งหมด หลังจากนั้นฟองละเอียดจะก่อตัวขึ้นทันทีราวกับเป็นเบียร์สดที่ถูกเสิร์ฟในร้านอาหาร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เลี่ยงการออกไปบริโภคนอกบ้านท่ามกลางมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของรัฐบาลญี่ปุ่น และหันมาดื่มที่บ้านมากขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถดื่มเบียร์ได้โดยตรงจากกระป๋อง เนื่องจากขอบของเบียร์ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการบาดเจ็บอีกด้วย

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า