การตลาดดิจิทัล หลังโควิด-19

การตลาดดิจิทัล หลังโควิด-19

การตลาดสิ่งพิมพ์จะไปร่วมกับธุรกิจแบบไหนเพื่อให้ยั่งยืน

เรียบเรียงโดย ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล

ก่อนถึงปี พ.ศ. 2563 ธุรกิจสิ่งพิมพ์มีภาวะวิกฤติ เรื่องการหาลูกค้าใหม่ การรักษาลูกค้าเดิม รวมถึงการมองตลาดใหม่ๆ บางโรงพิมพ์ถึงขนาดต้องสร้างสินค้าเป็นของตัวเอง เพื่อที่จะป้องการผลิตให้กับธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ทำอยู่ก่อน แต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เราได้พบวิกฤติที่แทบจะไม่มีใครคาดคิดว่า จะมีเหตุการณ์รุนแรงที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะเกิดมาและได้พบเจอ นั้นคือ โรคระบาดโควิด-19 เหตุการณ์ในประเทศไทยดูเหมือนจะควบคุมได้ แต่ต่างประเทศอื่นๆ มีผลกับชีวิตของประชากรทำให้ล้มตายไปจำนวนมาก ยังไม่พอสำหรับประเทศไทยยังมี โรคระบาดโควิด-19 ครั้งที่สองเมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบันคือ 4 เดือนแรกของปี พ.ศ.2564 ผมได้อ่านบทความของนักวิชาการหลายท่าน และคิดเห็นว่าธุรกิจทุกธุรกิจรวมถึงธุรกิจสิ่งพิมพ์ของสมาชิกทุกท่านถึงเวลาต้องปรับตัว และมีหลายคนพูดว่าธุรกิจจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกต่อไปถึงแม้ว่าโรคระบาดนี้จะหายไปก็ตาม

ดังนั้นผมจึงขอคัดเนื่องหาจากบทความในโซเชียลที่น่าสนใจมานำเสนอให้สมาชิกได้อ่านเพื่อเตรียมตัวปรับแนวธุรกิจของท่านให้สอดคล้องกับ “การตลาดดิจิทัล หลังโควิด-19” และการตลาดสิ่งพิมพ์จะไปร่วมกับธุรกิจแบบไหนเพื่อให้ยั่งยืน มาให้ได้อ่านกันครับ

หัวข้อ : Future of Marketing: การตลาดดิจิทัล อาวุธโลกธุรกิจหลังโควิด-19

การตลาดในโลกธุรกิจหลังโควิด-19 จะเปลี่ยนไปอย่างไร? คุณศิวัตร เชาวรีวงษ์ CEO แห่ง Group M เอเจนซี่ระดับแนวหน้าของวงการ ผู้อยู่เบื้องหลังการวางกลยุทธ์สื่อโฆษณาและการตลาดขององค์กรธุรกิจและแบรนด์สินค้ามากมายในทุกอุตสาหกรรม มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการปรับกลยุทธ์รับมือให้บริษัทอยู่รอดจากวิกฤตที่เกิดขึ้นและอนาคตที่จะมาต่อจากนี้

เปลี่ยนจากขายแต่หน้าร้าน เป็นขายออนไลน์

ธุรกิจขนาดใหญ่หลายธุรกิจยังคงใช้จ่ายงบสื่อโฆษณาไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก แต่มีการปรับรูปแบบโฆษณาให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น ธุรกิจยานยนต์ ที่ไม่สามารถจัดงานมอเตอร์โชว์ได้ ปรับเปลี่ยนมาใช้ช่องทางโฆษณาออนไลน์เป็นหลัก โดย
• โฆษณาโดยใช้ช่องทางการเซิสคำค้นหาบนเว็บไซต์ เช่น กูเกิ้ล (google) เพราะการที่มีคน เซิสคำค้นหาเกี่ยวกับรถ แสดงว่ามีความต้องการในตลาดอยู่
• กรณีที่ลูกค้ายังไม่ซื้อ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล และยิงโฆษณาซ้ำเข้าหาลูกค้าที่สนใจ (Remarketing)

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน กลยุทธ์การตลาดเปลี่ยน

ธุรกิจสินค้าเครื่องสำอาง ดูแลผิว
• สิ่งที่เปลี่ยนไปคือช่องทางการจำหน่าย เพราะห้างปิดลูกค้าจำเป็นต้องซื้อทางอีคอมเมิร์ซ ทำให้ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ อาจมีลูกค้าบางส่วนที่ไม่กลับไปซื้อที่หน้าร้านอีก
• การทำโฆษณาควรใช้ข้อมูลลูกค้าที่ได้จากตอนขายออนไลน์ มาทำกลยุทธ์ยิงโฆษณาหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าเก่าที่คุ้นเคยกับสินค้า มากกว่าจะดึงลูกค้าใหม่จากแบรนด์อื่น

ธุรกิจสินค้ากลุ่มของใช้ประจำวัน
• ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในก่อนหน้านี้อาจไม่ค่อยซื้อผ่านทางออนไลน์ แต่ช่วงล็อกดาวน์ มีความจำเป็นต้องสั่ง เมื่อห้างเปิดบางกลุ่มยังคงซื้อออนไลน์อยู่ เราจึงต้องมองให้ออกว่าลูกค้าอยู่กลุ่มไหน มีสัดส่วนอย่างไร

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
• ร้านไหนที่มีจุดเด่นเป็นตัวอาหารและทำการส่งถึงบ้านอยู่แล้ว ช่วง Covid-19 ก็เป็นช่วงที่ขายดียิ่งขึ้น แต่ถ้าร้านมีจุดเด่นที่บริการ จำเป็นต้องปรับตัวมากกว่า สิ่งที่หลายร้านเลือกทำคือ จัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษ หรือออกเมนูใหม่ให้เหมาะกับการส่งเดลิเวอรี่
• ร้านอาหารบางร้านเลือกใช้วิธีขายบัตรกำนัลหรือคูปองเงินสดให้ลูกค้าไปก่อน เพื่อเอาเงินสดเข้ามา
• ขนมทำง่ายๆ อย่าง ขนมเบื้อง ขนมโตเกียว จะมีการขายวัตถุดิบเป็นอาหารแบบทำเองได้ที่บ้าน เป็นที่นิยมมากเพราะลูกค้ารู้สึกสนุกในการทำอาหาร
• กรณีศึกษาจาก KFC ที่ต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้ส่งทันกับออเดอร์ที่มีเข้ามามากขึ้น และมีการปรับกลยุทธ์สื่อสารว่าจะใช้ไก่ KFC มาปรุงทำอาหารที่บ้านอะไรได้บ้าง

ธุรกิจท่องเที่ยว การโรงแรม
• โรงแรมที่พักหรือธุรกิจท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รับผลกระทบหนัก เพราะกลุ่มลูกค้าหลักหายไป บางโรงแรมก็ต้องปิดชั่วคราว หรือลดขนาด และรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่าย
• หลายโรงแรมมีการปรับตัว โดยเลือกเปลี่ยนมาขายร้านอาหาร เซอร์วิสในโรงแรม
• ในทางการตลาดดิจิทัลถ้ายังมีคนเซิสค้นหาที่พักอยู่ เช่นกลุ่มลูกค้าคนไทย ก็แปลว่ายังมีความต้องการห้องพักอยู่ เป็นโอกาสเข้าไปทำตลาดกับลูกค้ากลุ่มนี้
• การทำตลาดกับลูกค้าเก่า สำหรับโรงแรมที่พักที่มีระบบข้อมูลลูกค้าเดิมดีอยู่แล้ว ก็สามารถใช้กลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์กับลูกค้าเก่าได้หลากหลาย เช่น เสนอส่วนลดพิเศษ ยิงโฆษณา ฯลฯ
• ธุรกิจโรงแรมไทยต้องเตรียมตัวรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยชื่อเสียงที่ไทยจัดการโควิดมีประสิทธิภาพทำให้เรามีภาษีดีกว่าที่อื่น และทำการตลาดด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่า ประสบการณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากมา

การตลาดที่มีประสิทธิผล ทำให้ผลกำไรดีขึ้น

สิ่งสำคัญคือต้องดูว่าพฤติกรรมลูกค้าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทั้งการใช้จ่าย ความต้องการสินค้า กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำการตลาด ดังนี้
• ใช้ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่แบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อเจาะหาลูกค้าให้แม่นยำขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโชคดีที่เครื่องมือการตลาดดิจิทัลมีความสามารถในการสื่อสารหาลูกค้าได้แม่นยำอยู่แล้ว
• เมื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ถูก เลือกแพลตฟอร์มได้เหมาะสม ก็จะสามารถยิงโฆษณาสู่ลูกค้าแต่ละคนได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
• ควรมีการปรับและวัดผลโฆษณาอยู่ตลอดเวลา พร้อมเสริมกลยุทธ์ระหว่างทาง ก็จะมีสร้างยอดขายได้มากที่สุด เรียกว่าใช้งบได้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีเงินเหลือทำโปรโมชั่นอื่นๆ ได้

การปรับกลยุทธ์การวัดผลโฆษณาของคุณเพื่อรับมือผลกระทบจากโควิด-19

เราได้เห็นและได้ยินมาโดยตลอดว่าการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัสโคโรน่านั้นส่งผลต่อการให้บริการชุมชนต่างๆ ทั่วโลกของธุรกิจอย่างไร ในขณะที่เจ้าของธุรกิจเปลี่ยนแปลงบริการที่พวกเขานำเสนอ เราทราบดีว่ามีหลายคนที่ต้องทบทวนสิ่งต่างๆ อีกครั้ง เช่น คุณควรทำอย่างไรกับการตลาดและควรใช้จ่ายเงินเท่าไรกับโฆษณา

แม้การพุ่งเป้าไปที่สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจะเป็นเรื่องสำคัญ ธุรกิจก็จำเป็นต้องใคร่ครวญเกี่ยวกับกลยุทธ์ของตนโดยคำนึงถึงทั้งระยะสั้นและระยะยาวด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น แม้พฤติกรรมผู้บริโภคหลายๆ อย่างในตอนนี้จะเปลี่ยนไปจากปกติ เช่น มีการใช้เวลามากขึ้นบนโซเชียลมีเดียเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมก็อาจไม่เปลี่ยนแปลงเกินไปกว่าสภาพแวดล้อมปัจจุบัน

บางครั้งการทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจตามมาจากการตัดสินใจที่แตกต่างกันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราจึงได้พัฒนาแหล่งข้อมูลขึ้นเพื่อช่วยเหลือคุณ ด้านล่างนี้ เราได้ระบุกลยุทธ์ 4 อย่างในการทำความเข้าใจประสิทธิภาพของการโฆษณาในช่วงเวลานี้ และคู่มือชื่อการปรับกลยุทธ์การวัดผลโฆษณาของคุณเพื่อรับมือผลกระทบจากโควิด-19 ของเราก็อธิบายเกี่ยวกับแต่ละกลยุทธ์อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

1. ปรับกลยุทธ์ของคุณให้ง่ายขึ้น
การประเมินกลยุทธ์การวัดผลของคุณเพื่อปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขในปัจจุบันไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทิ้งวิธีการวัดผลที่มีอยู่ แทนที่จะเปลี่ยนวิธีการทั้งหมด ลองปรับกลยุทธ์ของคุณให้ง่ายขึ้นเพื่อเน้นไปที่การใช้แหล่งข้อมูลสำคัญที่เชื่อถือได้และให้ภาพรวมของข้อมูลอย่างสมบูรณ์ (Source of Truth) ซึ่งองค์กรของคุณมีอยู่ในปัจจุบันแทน วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและปรับสื่อของคุณให้เหมาะสมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2. ใช้การทดสอบเพื่อทำการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
การวัดผลและการเรียนรู้จะช่วยให้คุณประเมินผลกระทบของการปรับเปลี่ยนที่คุณทำในด้านต่างๆ เช่น การกำหนดเป้าหมายและการนำเสนอชิ้นงานโฆษณาได้ วิธีนี้ช่วยให้คุณปรับโฆษณาของคุณได้ ทำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น และปรับกลยุทธ์ของคุณให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้

3. ประเมินการทดสอบที่ออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในอนาคตอีกครั้ง
การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นกับชีวิตประจำวันของผู้คนทำให้ประสิทธิภาพของสื่อมักผิดแผกไปจากปกติ เมื่อดูข้อมูลเชิงลึกจากการทดสอบที่ทำขึ้นในช่วงนี้ ให้พิจารณาขอบเขตที่สภาวะในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ ผลการทดสอบที่ได้และหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดบางอย่างอาจยังคงนำไปใช้ได้ทั่วไปและใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจในอนาคตได้ ในขณะที่ผลการทดสอบและหลักปฏิบัติอื่นๆ อาจใช้ได้แค่ในปัจจุบันเท่านั้น

4. พิจารณาผลกระทบตามอุตสาหกรรมและเงื่อนไขทางการตลาด
ภาคธุรกิจและสินค้าที่แตกต่างกันเผชิญกับความเป็นจริงที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงในช่วงเวลานี้ โดยบางธุรกิจอาจได้รับอุปสงค์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ธุรกิจอื่นอาจได้รับอุปสงค์ลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ เงื่อนไขในการโฆษณาก็แตกต่างกันมากตามภูมิศาสตร์และฐานลูกค้าด้วย จึงไม่มีวิธีการใดที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกธุรกิจ ท้ายที่สุดแล้วกลยุทธ์การวัดผลที่เหมาะสมจะต้องได้รับการปรับให้เหมาะกับเป้าหมาย ลูกค้า และเงื่อนไขทางการตลาดของคุณซึ่งมีความเจาะจง

5 ธุรกิจที่จะเติบโต หลังยุคโควิด-19

เมื่อกล่าวถึงคำว่า Reskill ในปัจจุบัน เรามักจะคิดถึงการที่องค์กรกำลังเปลี่ยนแปลง ก้าวไปสู่การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเหมือนจะเกี่ยวข้องกับส่วนงาน IT และ Digital ฟังดูยังห่างไกลจากพนักงาน โดยเฉพาะในส่วน HR หรือ

1. ธุรกิจออนไลน์/ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Online Business/E-Business)
มาตรการปิดเมืองการทำงานจากบ้าน และการรักษาระยะห่างทางสังคม (Lockdown, Work from Home andSocial Distancing) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั้งผู้บริโภคหันไปทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น จนกลายเป็นความคุ้นชิน ในขณะที่ธุรกิจต้องปรับตัวสู่การขายสินค้าและบริการผ่านออนไลน์เพื่อความอยู่รอด ธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 จึงมีแนวโน้มพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น โดยทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจจะอยู่บนออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น ทั้งการผลิต การซื้อขายแลกเปลี่ยน การจำหน่ายสินค้าและบริการ และการพัฒนาระบบสำนักงานที่เชื่อมโยงข้อมูลตลอดกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ตั้งแต่การสั่งซื้อ การผลิต สต็อกสินค้าและวัตถุดิบ การส่งมอบสินค้า การชำระเงิน การรับประกันสินค้า การบริการหลังการขาย การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการให้บริการผ่านออนไลน์ เช่น การศึกษา บริการสุขภาพทางไกล (Telemedicine) การชมภาพยนตร์ คอนเสิร์ต การท่องเที่ยว เป็นต้น

2. ธุรกิจจัดส่ง (Delivery Business)
วิกฤตโควิด-19 ทำให้ธุรกิจจัดส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคไม่ต้องการออกจากบ้านเพื่อลดการสัมผัสและพบเจอกับคนจำนวนมาก ทำให้มีพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งซื้อและจัดส่งอาหารปรุงสุก (food delivery) วิกฤติโควิดยังทำให้ธุรกิจจัดส่งและโลจิสติกส์ในต่างประเทศมีการพัฒนามากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้มากขึ้น อาทิ เทคโนโลยีอัตโนมัติในการจำแนกพัสดุที่จะทำการจัดส่งการใช้ยานพาหนะขนส่งอัตโนมัติ (Autonomous Vehicles: AVs) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจัดส่งในพื้นที่แออัดและพื้นที่ห่างไกล และทำให้มีระบบไร้สัมผัส (touchless system) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของไวรัส เป็นต้น

3. ธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare Business)
สินค้าและบริการด้านสุขภาพจะมีความต้องการและจำเป็นมากขึ้นในอนาคตทำให้ธุรกิจสุขภาพและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับความสนใจในการลงทุนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการคิดวัคซีนและยารักษาโรค ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาด เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ เป็นต้น และอุปกรณ์วัดและประมวลผลสุขภาพ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ ชุดตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง นาฬิกาดิจิทัลที่วัดผลด้านสุขภาพ เป็นต้น และธุรกิจการบริการทำความสะอาดสถานที่ และฆ่าเชื้อโรคด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น บริษัท Keenon Robotics ในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ได้คิดค้นหุ่นยนต์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลที่สามารถฆ่าเชื้อด้วยแสง UV และพ่นสเปรย์ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้พร้อมกัน ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลระหว่างฆ่าเชื้อเพื่อนำมาวิเคราะห์ในการฆ่าเชื้อครั้งต่อไปได้ เป็นต้น

4. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (Data Related Business)
สถานการณ์โควิด-19 บ่งชี้ให้เห็นอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ติดตามผู้ติดเชื้อเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และติดตามจุดจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย รวมถึงการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อนำเสนอสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างครบถ้วนและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นธุรกิจที่จะเติบโตขึ้นหลังยุคโควิดจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูล อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บข้อมูลเวลาจริงและการวิเคราะห์ข้อมูล (Real Time Data Infrastructure and Data Analytics)การเฝ้าระวังการเข้ารหัสความเป็นส่วนตัว (Privacy Encoding State Surveillance) เป็นต้น

5. ธุรกิจเพื่อประโยชน์สังคม (Philanthropic Business Practice)
ในภาวะวิกฤติโควิด ทำให้แทบทุกองค์กรและทุกคนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถ้วนหน้า วิกฤติโควิดจึงเป็นโอกาสในการแสดงตัวตน ปรัชญา แนวคิด และค่านิยมของผู้ประกอบการและธุรกิจ และเป็นโอกาสในการสร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ของธุรกิจในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งลูกค้า คู่ค้า ซัพพลายเออร์ ชุมชน และประชาชน เช่น การไม่ค้ากำไรเกินควร การไม่ขายสินค้าคุณภาพต่ำการจ่ายค่าสินค้าตรงเวลา การพยายามรักษาการจ้างงานอย่างถึงที่สุด การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการช่วยเหลือสังคม เป็นต้นทั้งนี้การที่ธุรกิจแสดงความรับผิดชอบและยื่นมือไปช่วยเหลือผู้อื่น แม้ในยามที่ธุรกิจเองก็มีความยากลำบากจะทำให้เกิดทุนความดีและทุนด้านชื่อเสียง ที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจในอนาคต

ธุรกิจหลังยุคโควิด-19 จึงมีแนวโน้มเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น โดยจะก้าวไปไกลกว่าการทำกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพียงเพื่อจะได้รับภาพลักษณ์ที่ดีเท่านั้น แต่จะเป็นธุรกิจที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมและมีส่วนในการสร้างชาติ

การทำธุรกิจบนความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เป็นการสร้างความเลอค่าให้กับธุรกิจเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตจะให้คุณค่าและยอมจ่ายราคากับสิ่งอื่น ที่นอกเหนือจากคุณสมบัติของสินค้าและบริการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าที่ธุรกิจได้มอบให้แก่สังคมและประเทศชาติ

ภาคธุรกิจหลังยุคโควิด-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทุกธุรกิจจะต้องเริ่มต้นคิดใหม่ วางแผนใหม่ ปรับรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับความปกติใหม่หลังยุคโควิด-19 เพื่อที่จะสามารถมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ โดยการประเมินและวิเคราะห์ภาพคาดการณ์อนาคตทั้งภาพที่พึงประสงค์และภาพที่แย่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อันนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจและต่อสังคมได้


ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
หัวข้อ : Future of Marketing: การตลาดดิจิทัล อาวุธโลกธุรกิจหลังโควิด-19

อ่านเพิ่มเติม:
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/future-of-marketing.html
https://www.smeone.info/posts/view/4472

ที่มา: www.bangkokbiznews.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า